วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

UNIT 12 : What They Said


Reported Statements
When do we use reported speech? Sometimes someone says a sentence, for example "I'm going to the cinema tonight". Later, maybe we want to tell someone else what the first person said. (อ่านต่อ)

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

UNIT 11 : If It Hadn't Happened

Should have +V3  หรือ should not have + V3 แปลว่า ควรทำ (แต่ไม่ได้ทำ) หรือ ไม่ควรทำ (แต่ทำไปแล้วในอดีต)
อารมณ์เหมือนเสียดายที่ไม่ได้ทำ หรือทำไปแล้วในอดีต อ่านแล้วอาจะงงๆ ลองมาดูประโยคตัวอย่างกันดีกว่าคะ
                If you want to pass the exam, you should study more.
แปลว่า ถ้าคุณอยากสอบผ่าน คุณควรอ่านหนังสือมากกว่านี้
 You shouldn’t yell at Sunisa yesterday. Now she is mad at you.
ประโยคนี้ จริงๆแล้ว ควรเปลื่ยนเป็น You shouldn’t have yelled at Sunisa. Now she is mad at you.
คุณไม่ควรตะโกนใส่สุนิสาเลยเมื่อวานนี้ (แต่จริงๆ ได้ทำไปแล้ว) ตอนนี้เธอเลยโกรธคุณมาก
มาดูตัวอย่างเพิ่มเติม เรื่องการใช้  should+V1  กับ should have+V3
You should drive to the office today because the office is far away from home.
คุณควรขับรถไปออฟฟิสวันนี้ เพราะว่าออฟฟิสอยู่ไกลจากบ้าน
I should have brought an umbrella with me. Now I am getting wet.
ฉันควรเอาร่มมาด้วย (ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เอามา) ตอนนี้ฉันเลยเปียกหมดเลย
I shouldn’t have added too much salt in the soup. Now the soup is very salty.
ฉันไม่ควรใส่เกลือมากเกินไปในน้ำซุป (ซึ่งได้ใส่ไปแล้ว) ตอนนี้น้ำซุปเลยเค็มมาก

UNIT 10 : I Wonder What Happened

Subject + had + Verb3

หลักการใช้ Past Perfect Tense

  1. ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง2เหตุการณ์ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงก่อนหน้าอีกเหตุการณ์ โดย…
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนจะใช้Past Perfect Tense

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลังจะใช้Past Simple Tense

    We had gone outbeforehe came.
    (เราออกไปข้างนอกกันแล้วก่อนที่เขาจะมา)
  2. Past Perfect Tense มักจะใช้กับคำว่า before, after, already, just, yet, until, till, as soon as, when, by the time, by… (เช่น by this month) และอื่นๆ โดยจะมีอาจวิธีการใช้ต่างกันไป เช่น
  • Before+ Past Simple Tense + Past Perfect Tense เช่น
BeforeI went to the school, Ihad hada car accident.
(ก่อนที่ฉันจะไปโรงเรียน ฉันได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์)
  • After+ Past Perfect Tense + Past Simple Tense เช่น
AfterIhad finishedmy homework, I went to the Internet Café.
(หลังจากที่ฉันทำการบ้านเสร็จ ฉันก็ไปยังร้านอินเตอร์เน็ต)
  • By the time+ Past Simple Tense + Past Perfect Tense เช่น
By the timehe came here, I alreadyhad finishedmy dinner.
(ตอนที่เขามาถึง ฉันก็กินข้าวมื้อเย็นของฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

วิธีการสร้างประโยค Past Perfect Tense

ครงสร้าง
Subject + had + Verb 3
ประโยคบอกเล่า
They
had
gone
to the shopping mall.
She
had
found
her wallet.
ครงสร้าง
Subject + had + not + Verb 3
ประโยคปฏิเสธ
They
had
not
gone
to the shopping mall.
She
Had
not
found
her wallet.
ครงสร้าง
Had + Subject + Verb 3?
ประโยคคำถาม
Had
they
gone
to the shopping mall?
Had
she
found
her wallet?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + had + Verb 3?
ประโยคคำถาม
Wh-
Where
had
they
gone?
What
had
she
found?

UNIT 9 : Complaints, Complaints

Have something (done)

กริยา have อาจใช้ในความหมายว่า จัดให้มีการกระทำต่อสอ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยกิริยาที่ตามหลังอยู่ในรูปต่อไปนี้
(1)   have + สิ่งที่ถูกกระทำ + กิริยาช่องที่ 3 (ซึ่งกระทำต่อสิ่งนั้น)
(have/get something done)
เช่น a. He has his car taken to the garage.
มีข้อสังเกตคือ การใช้ประโยคเช่นนี้เราทราบว่าอะไรถูกกระทำ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ
          b. He has his car washed every week. (เขาให้รถของเขาถูกล้างทุกสัปดาห์) (washed = V3)
     c. He has his hair cut every month. (เขาให้ผมของเขาถูกตัดทุกเดือน) (cut = V3)
     d. I had my shoes mended yesterday. (เขาให้รองเท้าของเขาถูกซ่อมเมื่อวานนี้) (mended = V3)

หมายเหตุ เราสามารถใช้ get แทน have ได้
      I have my hair cut. = I get my hair cut.
      I had my hair cut. = I got my hair cut.

(2) have + ผู้กระทำ + อาการกระทำ (กิริยาช่องที่1)
(have someone do something)
(get someone to do something)
              a. I have Dang wash my car every week. (ฉันให้แดงล้างรถของผมทุกสัปดาห์)
                     = I have my car washed every week. (ฉันให้เขาล้างรถให้ทุกสัปดาห์)

                b. I had Suda take my photograph yesterday. (ฉันให้สุดาถ่ายรูปให้ผมเมื่อวานนี้)
                     = I had my photograph taken yesterday.

หมายเหตุ ในกรณีที่บอกว่าให้ใครกระทำนี้ เราใช้ get แทน have จะต้องมี to นำหน้ากิริยาช่องที่ 1 (ถ้าใช้ have ไม่ต้องมี to)
เช่น     have Dang wash my car every week. = I get Dang to wash my car every week.
         I had Suda take my photograph yesterday. = I got Suda to take my photograph yesterday.

UNIT 8 : Wishful Thinking

Conditional sentences หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause คือ ประโยคเงื่อนไข ประกอบด้วยอนุประโยค (ประโยคย่อย) สองประโยค ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สังเกตว่า อนุประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้ แล้วแต่การเน้นและความหมาย
conditional-clauses
1. ZERO Conditional Sentences 
วิธีใช้: ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริง
Zero conditional sentences ใช้สำหรับพูดถึงความจริงทั่วไป โดยใช้ present simple ในอนุประโยคทั้งสองประโยค
  • If + present simple, …. present simple. (คนไทยมักจะเขียนว่า If + subject + V1, subject + V1)
ประโยคแบบ zero conditional sentences ใช้พูดถึงกรณีที่ถ้าเกิดสิ่งหนึ่ง ต้องเกิดอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เช่น If water reaches 100 degrees, it boils. เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส น้ำจะเดือดเสมอ หรือ If I eat peanuts, I am sick. ถ้าฉันกินถั่วลิสงฉันจะแพ้ ซึ่งประโยคลักษณะนี้ เราจะใช้คำว่า when (เมื่อ) แทน if ก็ได้
ตัวอย่างเพิ่มเติม
  • If people eat too much, they get fat. ถ้ากินมากจะอ้วน
  • If you touch a fire, you get burned. ถ้าแตะไฟก็จะโดนลวก
  • People die if they don’t eat. คนเราจะตายถ้าไม่กินอาหาร
  • You get water if you mix hydrogen and oxygen. ถ้ารวมไฮโดรเจนกับอ๊อกซิเจนจะได้น้ำ
  • Snakes bite if they are scared. งูจะกัดเวลารู้สึกกลัว
  • If babies are hungry, they cry. ทารกจะร้องไห้ถ้ารู้สึกหิว
Zero conditional sentences จะใช้พูดถึงเรื่องจริงทั่วๆไป แต่ conditional sentences แบบต่อไปจะพูดถึงเหตุการณ์เฉพาะค่ะ

2. FIRST Conditional Sentences 
 วิธีใช้ ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
First conditional sentences ใช้สำหรับพูดว่าถ้าสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น อีกสิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น โดยใช้ If + present simple แล้วตามด้วย future simple
  • if + present simple, … will + infinitive (คนไทยมักจะเขียนว่า If + subject + V1, subject + will/be going to + V1)
ใช้พูดถึงเหตุการณ์เฉพาะซึ่งอาจเป็นไปได้ หรือผู้พูดคิดว่าจะเกิดขึ้น เช่น
  • If it rains, I won’t go to the park. ถ้าฝนตก ฉันจะไม่ไปสวนสาธารณะ
  • If I study today, I‘ll go to the party tonight. ถ้าวันนี้ฉันอ่านหนังสือ คืนนี้จะไปปาร์ตี้
  • If I have enough money, I‘ll buy some new shoes. ถ้ามีเงินพอ ฉันจะซื้อรองเท้าใหม่
  • She‘ll be late if the train is delayed. เธอจะไปสายถ้ารถไฟมาช้า
  • She‘ll miss the bus if she doesn’t leave soon. เธอจะไม่ทันรถเมล์ถ้าไม่ออกจากบ้านตอนนี้
  • If I see her, I‘ll tell her. ถ้าพบเขาฉันจะบอกเขา
Zero conditional กับ first conditional ต่างกันตรงที่ใช้กับสถานการณ์คนละประเภทดังได้กล่าวไปแล้ว ดูตัวอย่างชัดๆอีกทีนะคะ

Zero conditional: If you sit in the sun, you get burned. (ใครก็ตามที่) นั่งตากแดดจะผิวไหม้
First conditional: If you sit in the sun, you’ll get burned. ถ้าเธอนั่งตากแดดผิวเธอจะไหม้นะ

3. SECOND Conditional Sentences
 วิธีใช้ ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบัน หรือ อนาคต
First conditional ใช้พูดถึงสิ่งที่ผู้พูดคาดคะเนว่าจะเกิดขึ้น แต่ Second conditional จะใช้พูดถึงสิ่งที่ผู้พูดคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น
First conditional: If she studies harder, she’ll pass the exam. ถ้าเธอตั้งใจเรียนมากขึ้นเธอจะสอบผ่าน (คิดว่าเป็นไปได้)
Second conditional: If she studied harder, she would pass the exam. ถ้าเธอตั้งใจเรียนมากขึ้นเธอคงสอบผ่าน (แต่ผู้พูดไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ คือ คิดว่าเธอคงไม่ตั้งใจมากขึ้น และเธอคงสอบไม่ผ่าน)
ประโยคแบบ second conditional นี้ใช้ If + past simple คู่กับ would + infinitive ค่ะ
  • if + past simple, …would + infinitive
(สังเกต ว่าอนุประโยคที่ต่อหลัง if ถ้าคำกิริยาเป็น verb to be จะใช้ were ได้กับประธานทุกตัว เช่น If I were you… ถ้าฉันเป็นเธอ… แต่จะใช้ was ตรงตามประธานก็ได้ค่ะ)
วิธีใช้
– ใช้พูดถึงความใฝ่ฝันว่าอยากให้เกิดขึ้นในอนาคตแต่อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ เช่น
  • If I won the lottery, I would buy a big house. ถ้าถูกล็อตเตอรี่จะซื้อบ้านหลังใหญ่ (ซึ่งคิดว่าคงไม่ถูกล็อตเตอรี่หรอก)
  • If I met the Queen of England, I would say hello. ถ้าได้พบราชีนีอังกฤษฉันจะกล่าวสวัสดี
  • She would travel all over the world if she were rich. เขาจะเที่ยวรอบโลกถ้ามีเงินมากๆ
  • She would pass the exam if she ever studied. เธอคงจะสอบผ่านหรอกถ้าเธอได้เคยอ่านหนังสือบ้าง (ซึ่งจริงๆไม้อ่านเลย)

– ใช้พูดถึงเหตการณ์ในปัจจุบันที่เป็นไปไม่ได้เลย ไม่จริงเลย เช่น
  • If I had his number, I would call him. ถ้ามีเบอร์เขาฉันจะโทรหาเขา (แต่จริงๆฉันไม่มีเบอร์เขา)
  • If I were you, I wouldn’t go out with that man. ถ้าฉันเป็นเธอฉันจะไม่ไปเที่ยวกับเขา

ประโยค second conditional ต่างกับ first conditional ตรงที่แบบนี้มีความเป็นไปได้น้อยมาก เช่น

Second conditional: If I had enough money I would buy a house with twenty bedrooms and a swimming pool. ถ้ามีเงินพอฉันจะซื้อบ้านที่มีห้องยี่สิบห้องกับสระว่ายน้ำ (ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เป็นแค่ฝัน)

First conditional: If I have enough money, I’ll buy some new shoes. ถ้ามีเงินพอฉันจะซื้อรองเท้าใหม่ (มีความเป็นไปได้มากกว่ามาก)

4. THIRD Conditional Sentences
 วิธีใช้ ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต
ประโยค conditional แบบสุดท้ายใช้ If + past perfect (subject + had + V3) คู่กับ would have + V3 ค่ะ
  • if + past perfect, …would + have + past participle
ประโยคแบบนี้ใช้พูดเกี่ยวกับอดีตที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ว่าถ้าเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร
  • If she had studied, she would have passed the exam. ถ้าเขาอ่านหนังสือ เขาคงสอบผ่านไปแล้ว (ซึ่งจริงๆผู้พูดรู้ว่าไม่ได้อ่านและสอบตก)
  • If I hadn’t eaten so much, I wouldn’t have felt sick. ถ้ากินไม่มากฉันคงไม่ป่วย (แต่จริงๆฉันกินเยอะ จึงป่วย)
  • If we had taken a taxi, we wouldn’t have missed the plane. ถ้าเราขึ้นแท็กซี่มาเราคงไม่ตกเครื่องบิน
  • She wouldn’t have been tired if she had gone to bed earlier. เธอจะไม่เพลียถ้าเข้านอนเร็วกว่านี้
  • She would have become a teacher if she had gone to university. เธอคงจะเป็นครูถ้าเธอเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
  • He would have been on time for the interview if he had left the house at nine. เขาคงมาสัมภาษณ์ทันเวลาถ้าออกจากบ้านตอนเก้าโมง

5. MIXED Conditional Sentences
นอก จากนั้นยังมีการนำ conditional sentences สองแบบมาผสมกันอีกด้วยค่ะ โดยมากใช้เวลาพูดถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริงในอดีตที่มีความสัมพันธ์กับ ปัจจุบัน เช่น
  • She would be a rich widow now if she’d married him. เธอคงจะได้เป็นแม่หม้ายเศรษฐีไปแล้วถ้าเธอแต่งงานกับเขา (ตอนนั้นไม่แต่งกับเขา ตอนนี้เลยไม่ได้เป็นแม่หม้ายเศรษฐี)
  • If I’d studied law, I’d be an attorney now. ถ้าตอนนั้นเรียนนิติตอนนี้ฉันก็คงจะเป็นทนายความแล้ว

UNIT 7 : You've Got Mail!

Gerunds (เจอรันสฺ) เป็นกริยารูปหนึ่งที่ลงท้ายด้วย ing และทำหน้าที่เป็น คำนาม (noun) ฉะนั้นตำแหน่งของคำกริยาประเภทนี้ในประโยคคือ ประธาน (subject) กรรมตรง (direct object) ประธานเสริม (subject complement) และกรรมของบุพบท (object of preposition)
คำกริยา (verb) ที่ตามหลังคำบุพบท (preposition) นั้นต้องเป็น gerund ตัวอย่างคำบุพบทเช่น
about (เกี่ยวกับ)
by (โดย)
after (หลังจาก)
in (ใน)
apart from (นอกเหนือจาก)
instead of (แทนที่จะ)
at (ที่)
on (บน)
because of (เนื่องจาก)
without (ปราศจาก)
before (ก่อนหน้า)
from (จาก)
with (กับ)
ยกตัวอย่างเช่น
Before sleeping, Jan always drink a cup of warm milk.
(ก่อนนอน แจนมักตื่มนมอุ่นๆเสมอ)

UNIT 6 : Take My Advice

 modals หรือ modal auxiliaries คือกลมกริยาช่วยที่ใช้บอกกริยาแท้ของประโยค โดยที่กริยาแท้จะเป็นกริยาช่อง1
               รูปธรรมดา                รูปปฏิเสธ                            รูปย่อปฏิเสธ
                can                        cannot                             can' t
                could                     could not                         cudn' t
                may                       may not                           mayn' t
               might                       might not                         mightn' t
               shall                        shall not                          shalln' t
               should                     should not                       shouldn' t
               ought to                  ought not to                     oughtn' t
               will                          will not                            won' t
               would                      would not                       wouldn' t
               must                        must not                          moustn' t
               have to                    do not have to                 don' t have to
               need                        need not                          needn' t
               dare                        dare not                          daren' t
               had better                had better not                
       ในประโยคคำถามให้นำ modal quxilliaries มาไว้หน้าประโยค
               Will you do it ?
               Can you swim ?
       modal auxiliaries
CAN
       1. ใช้แสดงความสาารถในปัจจุบัน
               I can speak Engish.
       2. ใช้แสดงความเป็นไปได้
               He can help you.
       3. ใช้แสดงการอนุญาติ หรือ ขออนุญาติ
               You can sit here.
               Can I sit here ?
MAY
       1. ใช้แสดงการคาดคะเน
               He may be ill.
       2. ใช้แสดงการอนุญาติ หรือ ขออนุญาติ
               You may have.
MUST
       1. ใช้แสดงความจำเป็นที่ต้องกระทำ
               You must do it.
               You must not do it again.
HAVE TO
       1. ใช้แทน must เมื่อ้องการแสดงการผูกมัด หรือ ความจำเป็นที่จะกระทำ เนื่องจากสถานะการณ์อื่น ๆ ไม่เป็นการบังคับ หรือ เป็นคำสั่ง
               You have to obey your parents.
       2. do not หรือ does not have to = ไม่ต้อง, ไม่จำเป็นต้อง
               You don' t have to stay here.
               Wanchai doesn' t have to leave now
NEED
       มีวิธีใช้ 2 แบบดังนี้
       ก. ใช้เป็นกริยาช่วยอื่น ๆ จะใช้เฉพาะประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถามเท่านั้น ในกรณีนี้ need ใช้ได้กับประธานทุกบุรุษโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง และกริยาที่ตามหลัง need เป็นกริยาช่อง 1 เสมอ
               You needn' t get up early tomorrow.
               Need I goto school tomorrow ?
       ข. ใช้แบบกริยาธรรมดา มีความหมายว่า จำเป็นต้อง เช่นเดียวกัน ในกรณีนี้กริยาจะเปลี่ยนตามพจน์และกาล
( tense ) เหมือนกริยาทั่วไป นอกจากนี้ต้องมี to นำหน้ากริยาที่ตามมาเสมอ
               Bob needs towork today.
               You don' t need to help me.
SHOUlD = ควร, ควรจะ
       He should not be rude.
OUGHT TO = ควร, ควรจะ ความหมายเหมือน should เพียงแต่มี to นำหน้ากริยาที่ตามมา
       We ought to obey the rules.
MIGHT
       ใช้แสดงความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ ( แต่โอกาสที่เกิดมีน้อยกว่า may )
               I might not go towork tomorrow.
               It might rain tomorrow.
WOULD
       แสดงการขอร้องอย่างสุภาพ